วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557


บทที่  ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า

ผลการศึกษาค้นคว้า
จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนและหมู่บ้านพบพืชสมุนไพรทั้งหมด 9 ชนิด โดยจำแนกพืชสมุนไพร ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีใช้ ขนาดในการใช้ และใช้กับโรคที่เกิดขึ้น แตกต่างกัน ดังนี้
1. มะนาว

ชื่อไทย มะนาว
ชื่อพื้นเมือง โกรยชะม้า (เขมร - สุรินทร์) ปะนอเกล
มะนอเกละ มะเน้าด์เล(กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี)
ส้มมะนาว (ทั่วไป) ลีมานีปีห์ (คาบสมุทรมาเลียใต้)
หมากฟ้า (ชาน - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurati Folia christmonm Swing
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่ม มีหนามตามต้น ก้านใบสั้น ตัวใบ
รูปร่างกลมรี ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ดอก
เล็กสีขาวอมเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมเปลือกบางเรียบ
มีน้ำมาก รสเปรี้ยว เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขม
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล
สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำมาผสมกับเกลือเล็กน้อย ชงกับน้ำร้อนดื่ม
รักษาอาการไอและขับเสมหะ
2.กะเพรา
 


ชื่อไทย กะเพรา
ชื่อพื้นเมือง กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขาว กะเพราแดง (กลาง)
ห่อกวอซู่ ห่อตุปลู (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum Sanctum Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มล้มลุก ซึ่งอาจสูงถึง 1 เมตร ใบเป็นรูปไข่ บางและ
นุ่ม ลำต้นและใบมีขนปกคลุมทั่วไป ใบมีสีเขียว บางสายพันธุ์
สีม่วงอมแดง ใบมีรสเผ็ดร้อน ใช้รับประทานสดได้ ช่อดอกตั้ง
ตรง โดยมีดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้   1. ใช้ใบสดและยอด 1 กำมือ น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม แห้งประมาณ 4 กรัม  ต้มเอาน้ำ สำหรับรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง เหมาะสำหรับเด็ก
 2. ใช้ใบสด 3 ใบ ผสมเกลือพอสมควร บดให้ละเอียด ละลายในน้ำสุกหรือน้ำผึ้ง  หยอดให้เด็กอ่อนที่คลอดได้ราวๆ 2 – 3 วัน  กินเป็นยาขับลม
3.ขมิ้น

ชื่อไทย ขมิ้น
ชื่อพื้นเมือง ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง) ขี้มิ้น (ใต้)
ตายอ (กะเหรี่ยง - กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีลำต้นใต้ดิน เรียกส่วนที่เป็นลำต้นว่าเหง้า ลำต้นส่วนที่เหนือ
ดินมีความสูง ประมาณ 1 เมตร ใบมีขนาดยาว 2 – 3 ฟุต
ปลายใบมน ใบมีสีเขียว ดอกมีสีขาวแกมเหลือง มักขึ้นรวมกันอยู่
เป็นกอ ๆ เหง้าจะมีเนื้อสีเหลืองจัด เจริญในดินปนทรายให้เหง้า
มากกว่าปลูกในดินธรรมดา เจริญได้ดีในฤดูฝน
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. เมื่อถูกยุงกัด จะรู้สึกคันและมีตุ่มขึ้น บริเวณที่ถูกยุงกัด ให้นำเหง้าขมิ้นมาขูดเอาเนื้อขมิ้นทาบริเวณที่ถูกกัด จะทำให้หายคัน และตุ่มจะยุบหายไป
2. นำผงเหง้าขมิ้นมาผสมกับน้ำฝน คนให้เข้ากัน ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนเช้าและเย็น
3. เอาผงเหง้าขมิ้นมาละลายน้ำ ใช้ทาบริเวณที่ถูกยุงกัดบ่อย
4. ผสมเหง้าขมิ้นกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 4 ครั้ง
5. นำเหง้าขมิ้นขนาดพอสมควรมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ เจือน้ำสุกเท่าตัว กินครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง อาจเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อให้กินได้ง่ายขึ้น ใช้รักษาอาการท้องร่วง
6. ผสมผงเหง้าขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆและคนไปเรื่อยๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผลหรือจะใช้ขมิ้นที่ล้างให้สะอาดแล้วมาตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผลสดก็ได้
 4. กระเทียม

ชื่อไทย กระเทียม
ชื่อพื้นเมือง หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium Sativum Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ
ติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทย
ส่วนที่ใช้เป็นยา หัว
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำใบมีดสะอาดขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อน และฝานหัวกระเทียมทาถูลงไปทำอย่างนี้ เช้า – เย็น ติดต่อกันประมาณ 10 วัน
2. ฝานหัวกระเทียมทาบริเวณที่เป็นกลาก เช่นเดียวกับข้อ 1
3. ปอกหัวกระเทียมเอาเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ หั่นซอยให้ละเอียดกินหลังอาหารทุกมื้อ สำหรับรักษาอาการจุกเสียดแน่น อืดเฟ้อ
  5. ขิง


ชื่อไทย ขิง
ชื่อพื้นเมือง ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่)
สะเอ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosscoc
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชอบสภาพดินปลูกที่ร่วนซุย ระบายน้ำดี ขยายพันธุ์โดยใช้
ท่อนพันธุ์แง่งขิง ตัดขนาดให้มี 1-3 ตาเมื่อเจริญเติบโตครบ
6 เดือน สามารถขุดขายเป็นขิงอ่อนได้ และเมื่อครบ 10 - 12
เดือน สามารถขุดขายเป็นขิงแก่ได้ โดยสังเกตเมื่อขิงแก่จะเริ่ม
ทิ้งใบโทรมลง แต่ลำต้นสะสมอาหารใต้ดินยังอยู่ในสภาพที่
สมบูรณ์
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มรักษาอาการท้องอืด จุกเสียด ปวดท้อง และคลื่นไส้อาเจียน
2. ฝนเหง้ากับน้ำมะนาว ผสมเกลือเล็กน้อยใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ระงับอาการไอและขับเสมหะ
6.ข่า

ชื่อไทย ข่า
ชื่อพื้นเมือง กฎกกโรห์นี (กลาง) ข่าหยวก ข่าหลวง (เหนือ)
เสะเออเดย สะเอเชย (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galangal Linnaeus Stuntz
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นก้านกลมแข็ง ใบสีเขียวแข็งหนา มีดอก
จากกอขึ้นไปเป็นช่อใหญ่สี ขาวประสีม่วงแดง ลูกกลม
ขนาดลูกหว้า ลงหัวเป็นปล้องๆ แง่งยาว มีสีขาวอวบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้เหง้าขนาดเท่าหัวแม่มือ ถ้าเป็นเหง้าสดจะหนักประมาณ 5 กรัม ถ้าแห้งหนักประมาร 2 กรัม ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง
2. เอาเหง้าข่าแก่ๆ มาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบาง ๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่ในเหล้าโรงทิ้งค้างคืน 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูผิวหนัง บริเวณที่เป็นกลากหรือเกลื้อนจนแดง และแสบเล็กน้อย แล้วอาข่าที่แช่ไว้ ทาบริเวณนั้น จะรู้สึกแสบๆ เย็น ๆ ใช้ทาเช้าและเย็น หลังอาบน้ำทุกวันติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ กลากเกลื้อนจะจางหายไปเมื่อหายแล้วควรทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์ และต้มเสื้อผ้าทุกชิ้น เพื่อให้หายขาด
 7.ว่านหางจระเข้

ชื่อไทย ว่านหางจระเข้
ชื่อพื้นเมือง หางตะเข้ (กลาง) ว่านไฟไหม้ (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe barbadensis Mills
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 0.5 -1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบ
ต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร อวบน้ำมาก
สีเขียวอ่อน หรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสี
เหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ดอกยาว50-100 เซนติเมตร
ออกจาดกลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่าง
ขึ้นบน แตกได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำใบมาล้างให้สะอาด โดยเฉพาะตรงรอยตัด ต้องล้างยางออกให้หมดปอกเปลือกทางด้านโค้งออก โดยระวังไม่ให้มือ ถูกชิ้นวุ้น ใช้มีดสับวุ้น และขูดวุ้นออกใส่ถ้วยที่สะอาด นำ น้ำเมือกที่ได้จากวุ้นไปใช้ทางรักษาแผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี และแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
2. ใช้วุ้นแปะแผลในปากหรือแผลที่ริมฝีปากบ่อยๆแผลจะหายเร็วขึ้น
 8.ตะไคร้

ชื่อไทย ตะไคร้
ชื่อพื้นเมือง คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไคร(ใต้) จะไคร(เหนือ)
หัวสิงไค(เขมร-ปราจีนบุรี) เซิดเกรย เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cybopogon Sitratus De Candolle Stapf
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง ๐.๗๕ - ๑.๒ เมตร แตกเป็นกอเหง้า
ใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวล
หรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบ
เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง ๑-๒ ซม. ยาว ๗๐-๑๐๐ ซม. แผ่นใบและ
ขอบใบสากและคม ออกดอกยาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นและราก
สรรพคุณและวิธีใช้ นำตะไคร้ทั้งต้นและรากมา 5 ต้น สับให้เป็นท่อนต้มกับน้ำ 3 ส่วนและเกลือเล็กน้อย ต้มให้เหลือ 1 ส่วน กินครั้งละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 3 วัน สำหรับรักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียดแน่น
9.ฟ้าทะลายโจร


ชื่อไทย ฟ้าทะลายโจร
ชื่อพื้นเมือง คีปังฮี น้ำลายพังพอน ฟ้าทะลาย หญ้ากันงู สามสิบดี คีปังฮี
ซีปังกี ชวนซินเหลียน ซวงซิมไน้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง30-60 เซนติเมตร ลำต้นตรงกิ่งก้านเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปใบหอก กว้าง1-2.5เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร คนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 2-8 มิลลิเมตร ดอกช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบน 2 กลีบ ปากล่าง 3 กลีบ ซึ่ง 2 ข้างมีแถบสีม่วงแดง และกลีบกลางมีแต้มสีม่วงตรงกลางกลีบ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ยาวได้ 2 เซนติเมตร เมล็ดประมาณ 6 เมล็ดต่อช่อง รูปไข่สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ต้น
สรรพคุณและวิธีใช้ รักษาโรคอุจจาระร่วง และบิด แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ ป้องกันหวัด มีฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น