วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557



บทที่  ๕
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนและหมู่บ้านระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือน ธันวาคม 2556 พบพืชสมุนไพรทั้งหมด 9 ชนิด โดยจำแนกพืชสมุนไพร ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีใช้ ขนาดในการใช้ และใช้กับโรคที่เกิดขึ้น แตกต่างกัน                  
จากการศึกษาพืชสมุนไพรที่พบในโรงเรียนและท้องถิ่นมีทั้งหมด 9 ชนิด มีผลการศึกษาดังนี้
1.ชื่อสมุนไพร: มะนาว  
ส่วนที่ใช้เป็นยา: ผล
วิธีใช้: ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยชงกับน้ำร้อนดื่ม                
สรรพคุณ: รักษาอาการไอและขับเสมหะ
2.ชื่อสมุนไพร: กะเพรา      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: ผล
วิธีใช้: ใช้ใบและยอดต้มเอาน้ำดื่ม                
สรรพคุณ: แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง
3.ชื่อสมุนไพร: ขมิ้น      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: เหง้า
วิธีใช้: นำเหง้ามาตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผลสด                
สรรพคุณ: รักษาแผลสด
4.ชื่อสมุนไพร: กระเทียม      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: หัว
วิธีใช้: ขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนทิ้งฝานหัวกระเทียมทาถูลงไป                
สรรพคุณ: แก้กลากเกลื้อน
5.ชื่อสมุนไพร: ขิง      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: เหง้า
วิธีใช้: ฝนเหง้าขิงกับน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อยใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ                
สรรพคุณ: ระงับอาการไอและขับเสมหะ
6.ชื่อสมุนไพร: ข่า      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: เหง้า
วิธีใช้: ใช้เหง้ามาทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม                
สรรพคุณ: แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง
7.ชื่อสมุนไพร: ว่านหางจระเข้      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: ใบ
วิธีใช้: นำใบมาปอกเปลือกขูดเอาวุ้นและใช้น้ำเมือกที่ได้จากวุ้นใส่แผล                
สรรพคุณ: รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
8.ชื่อสมุนไพร: ตะไคร้      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: ต้น
วิธีใช้: สับต้นและรากต้มกับน้ำ3ส่วนใส่เกลือเล็กน้อยจนเหลือ 1 ส่วนเอาน้ำดื่ม                
สรรพคุณ: รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อจุกเสียดแน่น
9.ชื่อสมุนไพร: ฟ้าทะลายโจร      
ส่วนที่ใช้เป็นยา: ใบ
วิธีใช้: นำใบผึ่งให้แห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งเป็นยาเม็ดลูกกลอนใช้กิน                
สรรพคุณ: แก้อาการเจ็บคอ

อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
จากการสรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ของพืชสมุนไพรทั้ง 9 ชนิด พบว่าพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมี ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ ที่แตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วย เล็ก ๆน้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาตามร้านขายยามารับประทานซึ่งสรรพคุณทางยาเหมือนกัน การใช้พืชสมุนไพรชนิดใดรักษาโรคใดนั้นต้องใช้ให้ถูกกับโรคให้ถูกกับชนิดของพืชสมุนไพร ไม่อย่างนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีผล ข้างเคียงต่อผู้ใช้ ซึ่งน่าจะเป็นการรักษาแต่เป็นการเพิ่มอันตรายเสียอีก การใช้ไม่ควรที่จะใช้นานจนเกินไป ถ้าอาการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้น หรือมีความผิดปกติหลังใช้ควรที่จะต้องไปปรึกษาแพทย์ทันทีและที่สำคัญควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์พืชสมุนไพรไว้ เพราตอนนี้ค่อนข้างหายาก ซึ่งสามารถปลูกไว้ที่บ้าน ง่ายต่อการรักษาโรคต่างๆ เล็กน้อย ๆที่เกิดขึ้นได้                                               ดังนั้นถ้ารู้ว่าในโรงเรียนหรือท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่มีพืชสมุนไพรกี่ชนิด มีอะไรบ้าง รู้ ลักษณะสรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ ขนาดในการใช้ ก็สามารถที่จะใช้ความรู้ที่ได้นั้นนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเกิดคนในครอบครัว ในชุมชน โรงเรียนเกิดเจ็บๆป่วยเล็กน้อยๆ ได้ก็สามารถรักษาได้ทันที และ ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดก่อนไปถึงมือแพทย์

ข้อเสนอแนะ
1. ควรที่จะสำรวจและศึกษาพืชสมุนไพรในพื้นที่ ที่กว้างมากกว่านี้ เพราะพื้นที่อื่น ๆ อาจจะมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ไม่รู้จักและมีประโยชน์
2. ควรที่จะมีการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรียนให้มาก ๆ
3. ควรที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้มากขึ้นกับนักเรียน และคนในท้องถิ่น
4. ควรที่จะให้คนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นไว้ให้มาก ๆ


2 ความคิดเห็น: